Post CSS
Footer CSS

แบงค์ไทยถีบ

แบงค์ไทยถีบนี้มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก แบงค์ไทยถีบเป็นแบงค์ในสมัยรัชกาลที่ 8 โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2488 และเหตุการณ์นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นข่าวดังในสมัยนั้น

ร้านปาหนันรับซื้อแบงค์ไทยถีบ

แบงค์ไทยถีบ

สำหรับชื่อเรียกแบงค์ไทยถีบนี้ เพราะว่าได้ถูกถีบลงจากรถไฟ เรื่องราวมีอยู่ว่าแบงค์รุ่นนี้ได้ถูกผลิตโดยประเทศญี่ปุ่น โรงพิมพ์ธนบัตรอยู่ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนิเซีย และได้ขนส่งธนบัตรมาทางรถไฟจากภาคใต้ขึ้นสู่กรุงเทพ ได้มีขบวนการหนึ่งแอบขึ้นรถไฟและได้ถีบหีบใส่ธนบัตรลงรถไฟ มีการนำธนบัตรที่ถีบมาลงมาแก้ลายเซ็น โดยธนบัตรที่ถูกขนมาทางรถไฟไม่มีลายเซ็นและไม่มีเลขหมวด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมาทราบภายหลังว่าธนบัตรส่วนหนึ่งได้ถูกลักลอบขโมยออกไป ทำให้ประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรรุ่นนี้ไป แต่ในช่วงนั้นธนบัตรขาดแคลนอย่างมาก เลยได้ทำการแก้ธนบัตรโดยการพิมพ์ชนิดราคาใหม่เข้าทับชนิดราคาเดิม จากชนิดราคา 10 บาท เป็นชนิดราคา 50 สตางค์ หลังจากประกาศยกเลิกการใช้ ใครที่มีธนบัตรที่ไม่มีลายเซ็นไม่มีหมายเลขหมวดหมู่ถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษถึงชั้นประหารชีวิต

ราคาที่รับซื้อ

แบงค์ไทยถีบฉบับแก้ไข
แบงค์ไทยถีบฉบับแก้ไข

แบงค์ที่มีการแก้ไขชนิดราคาจาก 10 บาท เป็น 50 สตางค์ ราคารับซื้อตามสภาพ 500-200 บาท

แบงค์ไทยถีบต้นฉบับ

แบงค์ที่ไม่มีหมวดหมู่ ไม่เลขกำกับ และไม่มีการแก้ชนิดราคา ราคารับซื้อตามสภาพ 3,000-10,000 บาท

สรุป

แบงค์ไทยถีบนี้มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สำหรับชื่อเรียกแบงค์ไทยถีบนี้ เพราะว่าได้ถูกถีบลงจากรถไฟ ได้มีขบวนการหนึ่งแอบขึ้นรถไฟและได้ถีบหีบใส่ธนบัตรลงรถไฟ มีการนำธนบัตรที่ถีบมาลงมาแก้ลายเซ็น หน่วยงานรัฐมารู้ภายหลังเลยได้ประกาศยกเลิกการใช้และเปลี่ยนเป็นชนิดราคา 50 สตางค์

คลิปวิดีโอ